บทที่๑ผู้แต่ง
ผู้แต่ง
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
พระบรมนามาภิไธย สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ
เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
ราชวงศ์ ราชวงศ์จักรี
ครองราชย์ ๗ กันยายา พ.ศ.
๒๓๕๒- ๒๑ กรกฎาคม พ.ศ.๒๓๖๗
ระยะเวลาครองราชย์ ๑๕ปี
รัชกาลก่อนหน้า พระบาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
รัชกาลถัดไป พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดประจำรัชกาล วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร
พระราชสมภพ ๒๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๓๑๐
สวรรคต ๒๑ กรกฎาคา
พ.ศ.๒๓๖๗ (รวมพระชนมพรรษา 57 พรรษา)
พระราชบิดา พระบาสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระราชมารดา สมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี
พระมเหสี สมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินี
พระราชโอรส/ธิดา ๗๓ พระองค์
เสด็จพระราชสมภพ เมื่อ วันที่ ๒๔ กุมภาพันธ์
พ.ศ. ๒๓๑๐ พระนามเดิมว่า ฉิม
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
มีพระนามเต็มว่า พระบาทสมเด็จพระบรมราชาธิราชรามาธิบดี
ศรีสินทรบรมมหาจักรพรรดิราชาธิบดินทร์ ธรณินทราธิราช รัตนากาศภาสกรวงศ์
องค์ปรมาธิเบศ ตรีภูวเนตรวรนายก ดิลกรัตนราชชาติอาชาวศรัย สมุทัยดโรมนต์
สากลจักรวาฬาธิเบนทร สุริเยนทราธิบดินทร์ หริหรินทรา ธาดาธิบดี ศรีวิบูลยคุณอกนิษฐ
ฤทธิราเมศวรมหันต บรมธรรมิกราชาธิราชเดโชชัย พรหมเทพาดิเทพนฤบดินทร์
ภูมิทรปรมาธิเบศ โลกเชษฐวิสุทธิ รัตนมกุฎประกาศ คตามหาพุทธางกูรบรมบพิตร
พระพุทธเจ้าอยู่หัวปราบดาภิเษก เมื่อวันที่ ๗ กันยายน พ.ศ. ๒๓๕๒ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร
กรมพระราชวังบวรสถานมงคล
จึงได้เสด็จขึ้นทรงราชย์สืบพระราชสันตติวงศ์เป็นพระมหากษัตริย์องค์ที่ ๒
แห่งราชวงศ์จักรี ใช้พระนามเต็มว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยแต่เนื่องจากในระยะหัวเลี่ยวหัวต่อที่เสด็จขึ้นทรงราชย์มีเหตุการณ์ไม่ปกติ
มีผู้ทิ้งหนังสือกล่าวหาพระเจ้าหลานเธอ เจ้าฟ้าธรรมธิเบศ กรมขุนกษัตรานุชิต
พระราชโอรสสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช
ที่ประสูติแต่พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
ร่วมกับพรรคพวกคบคิดกันจะแย่งราชสมบัติ จึงมีการจับกุม
เมื่อชำระได้ความแล้วเป็นสัตย์จริง จึงให้นำกรมขุนกษัตรานุชิตไปประหารด้วยท่อนจันท์ที่วัดปทุมคงคา
และบรรดาสมัครพรรคพวกก็ให้ประหารชีวิตสิ้น
ดังนั้นจึงไม่เรียกพิธีเสด็จขึ้นทรงราชย์ตามราชประเพณีว่าพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
แต่เรียกว่าปราบดาภิเษกทั้งๆที่เนื้อหาแห่งพระราชพิธีก็คือพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี
พระปรีชาสามารถ
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระปรีชาสามารถในศิลปกรรมด้านต่างๆ หลายสาขา
ดังจะขอยกตัวอย่างต่อไปนี้
ด้านกวีนิพนธ์
ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย
ได้รับการยกย่องว่า เป็นยุคทองของวรรณคดีสมัยหนึ่งเลยทีเดียว
ด้านกาพย์กลอนเจริญสูงสุด จนมีคำกล่าวว่า "ในรัชกาลที่ ๒ นั้น
ใครเป็นกวีก็เป็นคนโปรด" กวีที่มีชื่อเสียงนอกจากพระองค์เองแล้ว
ยังมีกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ (รัชกาลที่ ๓) สมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส สุนทรภู่
พระยาตรัง และนายนรินทร์ธิเบศร์ (อิน) เป็นต้น พระองค์มีพระราชนิพนธ์ที่เป็นบทกลอนมากมาย
ทรงเป็นยอดกวีด้านการแต่งบทละครทั้งละครในและละครนอก
มีหลายเรื่องที่มีอยู่เดิมและทรงนำมาแต่งใหม่เพื่อให้ใช้ในการแสดงได้ เช่น
รามเกียรติ์ อุณรุท และอิเหนา โดยเรื่องอิเหนานี้ เรื่องเดิมมีความยาวมาก
ได้ทรงพระราชนิพนธ์ใหม่ตั้งแต่ต้นจนจบ เป็นเรื่องยาวที่สุดของพระองค์
วรรณคดีสโมศรในรัชกาลที่ ๖ได้ยกย่องให้เป็นยอดบทละครรำที่แต่งดี
ยอดเยี่ยมทั้งเนื้อความ ทำนองกลอนและกระบวนการเล่นทั้งร้องและรำ
นอกจากนี้ยังมีละครนอกอื่นๆ เช่น ไกรทอง สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ หลวิชัยคาวี มณีพิชัย
สังข์ศิลป์ชัย ได้ทรงเลือกเอาของเก่ามาทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นใหม่บางตอน
และยังทรงพระราชนิพนธ์บทพากย์โขนอีกหลายชุด เช่น ชุดนางลอย ชุดนาคบาศ
และชุดพรหมาสตร์ ซึ่งล้วนมีความไพเราะซาบซึ้งเป็นอมตะใช้แสดงมาจนทุกวันนี้
ด้านปฏิมากรรม /ประติมากรรม นอกจากจะทรงส่งเสริมงานช่างด้านหล่อพระพุทธรูปแล้ว
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยยังได้ทรงพระราชอุตสาหะปั้นหุ่นพระพักตร์ของ
พระพุทธธรรมมิศรราชโลกธาตุดิลก พระประธานในพระอุโบสถ วัดอรุณราชวราราม
อันเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญยิ่งองค์หนึ่งไทยด้วยพระองค์เอง
ซึ่งลักษณะและทรวดทรงของพระพุทธรูปองค์นี้เป็นแบบอย่างที่ประดิษฐ์คิดค้นขึ้นใหม่ในรัชกาลที่
๒ นี้เอง
ส่วนด้านการช่างฝีมือและการแกะสลักลวดลายในรัชกาลของพระองค์ได้มีความเจริญก้าวหน้าไปอย่างมาก
และพระองค์เองก็ทรงเป็นช่างทั้งการปั้นและการแกะสลักที่เชี่ยวชาญยิ่งพระองค์หนึ่งอย่างยากที่จะหาผู้ใดทัดเทียมได้
นอกจากฝีพระหัตถ์ในการปั้นพระพักตร์พระพุทธธรรมิศรราชโลกธาตุดิลกแล้ว
ยังทรงแกะสลักบานประตูพระวิหารพระศรีศากยมุนี วัดสุทัศนเทพวราราม
คู่หน้าด้วยพระองค์เองร่วมกับกรมหมื่นจิตรภักดี
และทรงแกะหน้าหุ่นหน้าพระใหญ่และพระน้อยที่ทำจากไม้รักคู่หนึ่งที่เรียกว่าพระยารักใหญ่
และพระยารักน้อยไว้ด้วย
ด้านดนตรี กล่าวได้ว่า
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระปรีชาสามารถในด้านนี้ไม่น้อยไปกว่าด้านละครและฟ้อนรำ
เครื่องดนตรีที่ทรงถนัดและโปรดปรานคือซอสามสาย
ซึ่งซอคู่พระหัตถ์ที่สำคัญได้พระราชทานนามว่า "ซอสายฟ้าฟาด" และเพลงพระราชนิพนธ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันดีคือ
"เพลงบุหลันลอยเลื่อน" หรือ "บุหลัน (เลื่อน) ลอยฟ้า"
แต่ต่อมามักจะเรียกว่า "เพลงทรงพระสุบิน"
เพราะเพลงมีนี้มีกำเนิดมาจากพระสุบิน (ฝัน) ของพระองค์เอง โดยเล่ากันว่าคืนหนึ่งหลังจากได้ทรงซอสามสายจนดึก
ก็เสด็จเข้าที่บรรทมแล้วทรงพระสุบินว่า ได้เสด็จไปยังดินแดนที่สวยงามดุจสวรรค์ ณ
ที่นั่น มีพระจันทร์อันกระจ่างได้ลอยมาใกล้พระองค์
พร้อมกับมีเสียงทิพยดนตรีอันไพเราะยิ่ง ประทับแน่นในพระราชหฤทัย
ครั้นทรงตื่นบรรทมก็ยังทรงจดจำเพลงนั้นได้ จึงได้เรียกพนักงานดนตรีมาต่อเพลงนั้นไว้
และทรงอนุญาตให้นำออกเผยแพร่ได้
เพลงนี้จึงเป็นที่แพร่หลายและรู้จักกันกว้างขวางมาจนทุกวันนี้
เสด็จสวรรคต
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระประชวรด้วยโรค พิษไข้
ทรงไม่รู้สึกพระองค์เป็นเวลา ๘ วัน พระอาการประชวรก็ได้ทรุดลงตามลำดับ
และเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม
พ.ศ.๒๓๖๗สิริรวมพระชนมพรรษาได้ ๕๗ พรรษา และครองราชสมบัติได้ ๑๕ ปี
ที่มา: https://sites.google.com/site/thai044ssru/wicha-hlak-phasa/bth-thi-4-laksna-kha-praphanth