• บทที่๑๐ วีดิโอประกอบเรื่อง หลวิชัยคาวี

    0
    บทที่๑๐
     วีดิโอประกอบเรื่อง หลวิชัยคาวี

    ตอนที่๑
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=V5Zxih1o40s


    ตอนที่๒
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=QbU60-RHr70&pbjreload=10


    ตอนที่๓
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=RHokKDRQidY


    ตอนที่๔
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=5xXYd1skPY4


    ตอนที่๕
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=ITsX2rjw7yU


    ตอนที่๖
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=k7pnySpMFLI


    ตอนที่๗
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=_IUhv2LWo7c


    ตอนที่๘
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=5QxXxf2y19Q


    ตอนที่๙
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=oRKW7gp1s_k


    ตอนที่๑๐
    ที่มา: https://www.youtube.com/watch?v=pVfLC_Vo7RI
  • บทที่๙ ข้อคิด

    0
    บทที่๙ ข้อคิด
    ข้อคิดที่ได้จากเรื่องหลวิชัยคาวี
          ๑.การมีความเมตตาต่อผู้ที่กำลังลำบากเป็นสิ่งที่ควรทำ
          ๒.ผู้ที่ไม่มีสัจจะ ไม่มีใครอยากคบหาสมาคมด้วย
          ๓.มิตรแท้ต้องมีความเห็นอกเห็นใจกันและคอยช่วยเหลือกันในยามตกทุกข์ได้ยาก
          ๔.การไม่พอใจในสิ่งที่ตนมีอยู่ย่อมทำให้ตนมีความทุกข์
          ๕.ความโลภย่อมนำไปสู่ความวิบัติ
          ๖.ความดีย่อมชนะความชั่ว



                                   ที่มา: https://sites.google.com/site/thai044ssru/wicha-hlak-phasa/bth-thi-4-laksna-kha-praphanth
  • บทที่๘ ลักษณะของละครนอก

    0

    บทที่๘ ลักษณะของละครนอก
       
      ลักษณะของละครนอก
    ละครนอก มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นละครที่แสดงกันนอกราชธานี แต่เดิมคงมาจากการละเล่นพื้นเมือง และร้องแก้กัน แล้วต่อมาภายหลังจับเป็นเรื่องเป็นตอนขึ้น เป็นละครที่ดัดแปลงวิวัฒนาการมาจากละคร "โนห์รา" หรือ "ชาตรี" โดยปรับปรุงวิธีแสดงต่างๆ ตลอดจนเพลงร้อง และดนตรีประกอบให้แปลกออกไป
         ผู้แสดง
    ในสมัยโบราณจะใช้ผู้ชายแสดงล้วน ผู้แสดงจะต้องมีความคล่องแคล่วในการรำ และร้อง มีความสามารถที่จะหาคำพูดมาใช้ในการแสดงได้อย่างทันท่วงทีกับเหตุการณ์ เพราะขณะแสดงต้องเจรจาเอง
         การแต่งกาย
    ในขั้นแรกตัวละครแต่งตัวอย่างคนธรรมดาสามัญ เป็นเพียงแต่งให้รัดกุมเพื่อแสดงบทบาทได้สะดวก ตัวแสดงบทเป็นตัวนางก็นำเอาผ้าขาวม้ามาห่มสไบเฉียง ให้ผู้ชมละครทราบว่าผู้แสดงคนนั้นกำลังแสดงเป็นตัวนาง ถ้าแสดงบทเป็นตัวยักษ์ก็เขียนหน้าหรือใส่หน้ากาก ต่อมามีการแต่งกายให้ดูงดงามมากขึ้น วิจิตรพิสดารขึ้น เพราะเลียนแบบมาจากละครใน บางครั้งเรียกการแต่งกายลักษณะนี้ว่า "ยืนเครื่อง"
         เรื่องที่แสดง
    แสดงได้ทุกเรื่องยกเว้น ๓ เรื่อง คือ อิเหนา อุณรุฑ และรามเกียรติ์ บทละครที่แสดงมีดังนี้ คือ สมัยโบราณ มีบทละครนอกอยู่มากมาย แต่ที่มีหลักฐานปรากฏมีเพียง ๑๔ เรื่อง คือ การะเกด คาวี ไชยทัต พิกุลทอง พิมพ์สวรรค์ พิณสุริยวงศ์ มโนห์รา โม่งป่า มณีพิชัย สังข์ทอง สังข์ศิลป์ชัย สุวรรณศิลป์ สุวรรณหงส์ และโสวัต สมัยรัตนโกสินทร์ มีบทพระราชนิพนธ์ละครนอกในรัชกาลที่ ๒ อีก ๖ เรื่อง คือ สังข์ทอง ไชยเชษฐ์ ไกรทอง มณีพิชัย คาวี และสังข์ศิลป์ชัย (สังข์ศิลป์ชัย เป็นพระราชนิพนธ์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อครั้งดำรงพระยศเป็นกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ โดยรัชกาลที่ ๒ ทรงแก้ไข)
          การแสดง
    มีความมุ่งหมายในการแสดงเรื่องมากกว่าความประณีตในการร่ายรำ ฉะนั้นในการดำเนินเรื่องจะรวดเร็ว ตลกขบขัน ไม่พิถีพิถันในเรื่องของขนบธรรมเนียมประเพณี การใช้ถ้อยคำของผู้แสดง มักใช้ถ้อยคำ "ตลาด" เป็นละครที่ชาวบ้านเรียกกันเป็นภาษาธรรมดาว่า "ละครตลาด" ทั้งนี้เพื่อให้ทันอกทันใจผู้ชมละคร
          ดนตรี
    มักนิยมใช้วงปี่พาทย์เครื่องห้า ก่อนการแสดงละครนอก ปี่พาทย์จะบรรเลงเพลงโหมโรงเย็น เป็นการเรียกคนดู เพลงโหมโรงเย็นประกอบด้วย เพลงสาธุการ ตระ รัวสามลา เข้าม่าน ปฐม และเพลงลา
          เพลงร้อง
    มักเป็นเพลงชั้นเดียว หรือเพลง ๒ ชั้น ที่มีจังหวะรวดเร็ว มักจะมีคำว่า "นอก" ติดกับชื่อเพลง เช่น เพลงช้าปี่นอก โอ้โลมนอก ปีนตลิ่งนอก ขึ้นพลับพลานอก เป็นต้น มีต้นเสียง และลูกคู่ บางทีตัวละครจะร้องเอง โดยมีลูกคู่รับทวน มีคนบอกบทอีก ๑ คน
         สถานที่แสดง
    โรงละครเป็นรูปสี่เหลี่ยมดูได้ ๓ ด้าน (เดิม) กั้นฉากผืนเดียวโดยไม่ต้องเปลี่ยนแปลงไปตามท้องเรื่อง มีประตูเข้าออก ๒ ทาง หน้าฉากตรงกลางตั้งเตียงสำหรับตัวละครนั่ง ด้านหลังฉากเป็นส่วนสำหรับตัวละครพักหรือแต่งตัว
         ความเเตกต่างระหว่างละครนอกกับละครใน
    ละครนอกนั้นแต่ก่อนมีอยู่หลายคณะ ต่างคณะต่างออกรับจ้างเล่นละครตาม งานต่างๆ สุดแล้วแต่จะมีผู้หา เพราะฉะนั้นบทละครนอกจึงคงมีอยู่ด้วยกันทุกคณะ เป็นสำนวนที่แตกต่างกันสุดแล้วแต่ใครจะแต่งบทให้ถูกใจคนดูได้มากเพื่อแข่งขันกัน เรื่องที่ได้นำมาแต่งเป็นบทละครนอกนั้นมีอยู่หลายเรื่องและมากกว่าเรื่องที่ใช้แสดง ละครใน เช่น เรื่องสังข์ทอง เรื่องมณีพิชัย เรื่องคาวี เรื่องไชยเชฐ เรื่องพระสุธน มโนห์รา เรื่องสังข์ศิลป์ชัย และเรื่องพระรถ เป็นต้น นอกจากนี้แล้วก็ยังมีเรื่องละครนอก อื่นๆ อีกมาก ซึ่งบัดนี้ได้สาบสูญไปแล้วในกาลเวลาอันยาวนานแห่งอดีต เรื่องละครนอก เหล่านี้ส่วนใหญ่มาจากนิทานในศาสนาพุทธ คือ ปัญญาสชาดก หรือนิทานชาดกห้าสิบ เรื่อง ซึ่งพระเถระในภาคเหนือได้รวบรวมเอานิยายพื้นเมืองมาแต่งในรูปชาดกเมื่อ หลายร้อยปีมาแล้ว นิทานชาดกห้าสิบเรื่องนี้เคยเป็นที่นิยมมากของคนไทยในทุกภาค จึงได้นำมาแต่งเป็นบทละครนอกและใช้ในการแสดงต่อมา
    ดังได้กล่าวแล้วว่าบทละครในนั้นนับได้ว่าเป็นวรรณคดีของชาติทุกเรื่อง ว่าโดย ทั่วไปแล้วบทกลอนของบทละครในจะไพเราะประณีตยิ่งกว่าละครนอก และในเวลา แสดงก็จะมีการร้องเป็นระยะเวลานานๆ ตามบทซึ่งแต่งไว้ยาว เพราะผู้ดูเป็นผู้ที่อยู่ใน ระเบียบแบบแผน ประเพณี มีมารยาทดี สามารถจะนั่งฟังเพลงที่ไพเราะและชมบทรำ ที่เชื่องช้าประณีตได้ แต่ชาวบ้านทั่วไปที่ต้องทำมาหากินเห็นจะรอไม่ได้ บทละครนอกจึง มักจะสั้นกว่า และตรงไปตรงมายิ่งกว่าบทละครใน แต่ความแตกต่างที่สำคัญที่สุดนั้น ก็คือ ละครในเล่นอยู่เพียงสามเรื่อง คือ เรื่องอุณรุท รามเกียรติ์และอิเหนาเท่านั้น ใน ทั้งสามเรื่องนี้ท้าวพระยามหากษัตริย์เป็นตัวเอกทั้งสิ้น และบทละครก็แต่งไปในทาง ยกย่องส่งเสริมท้าวพระยามหากษัตริย์ที่เป็นตัวเอกนั้น ไม่มีตอนใดเลยในบทละครในที่จะ ทำให้มองไปเห็นว่าหมิ่นหรือเห็นท้าวพระยามหากษัตริย์เป็นตัวตลก เป็นการยกย่องสรร เสริญโดยตลอดเพราะเป็นละครที่เล่นในพระราชฐาน แต่ละครนอกที่ชาวบ้านเขาเล่น ดูกันนั้น ท้าวพระยามหากษัตริย์เป็นตัวตลกทั้งสิ้น ไม่มีความดีอะไรเลย ขี้ขลาดตาขาว สารพัด ท้าวสามลในเรื่องสังข์ทองก็เป็นตัวตลก ท้าวเสนากุฎในเรื่องสังข์ศิลป์ชัยก็เป็น ตัวตลก ท้าวสันนุราชในเรื่องคาวีก็เป็นตัวตลก ขึ้นชื่อว่าพระเจ้าแผ่นดินแล้วบทละคร นอกเขียนให้เป็นตัวตลกหมด และแม้แต่บทละครนอกซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ในพระบาท สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยก็ได้ทรงพระราชนิพนธ์โดยรักษาลักษณะของละครนอก ไว้ครบถ้วน
    บทละครนอกจึงแสดงให้เห็นสิ่งหนึ่งได้ชัดเจน คือชี้ให้เห็นถึงเอกลักษณ์ของคน ไทยไว้อย่างชัดแจ้งว่าเป็นคนที่ไม่นิยมนับถืออำนาจที่ปกครองแผ่นดินมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว ใครเป็นรัฐบาลคนไทยจะต้องวิจารณ์ว่าไม่ดีทั้งสิ้น และไม่นับถือ ที่ภาษาฝรั่งเรียกว่า anti-establishment และดูจากบทละครนอกก็จะเห็นได้ว่าคนไทยคงจะเป็นเช่นนี้มานานแล้ว






    ที่มา: https://sites.google.com/site/thai044ssru/wicha-hlak-phasa/bth-thi-4-laksna-kha-praphanth
  • บทที่๗ วัฒนธรรมในเรื่องหลวิชัยคาวี

    1
    บทที่๗ วัฒนธรรมในเรื่องหลวิชัยคาวี

    วัฒนธรรมในเรื่องหวิชัยคาวี
    จากตอน ท้าวสันนุราชชุบตัว
                      “ต่อจากนั้นท้าวสันนุราชได้เสด็จไปชำระสระสรงน้ำ ทรงผ้าพื้นขาวลายทอง ผ้าทรงสะพัก(ผ้าสไบสีขาวสะอาด คาดเข็มขัดถักสายลายสอง เสร็จแล้วก็เสด็จเข้าไปในม่าน”
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งกายที่แตกต่างกว่าสมัยปัจจุบัน

    จากตอน ท้าวสันนุราชชุบตัว
      “สุดแสนรักใคร่ไหลหลง                                นางไม่ปลงประดิพัทธ์ให้ขัดข้อง
    พระครวญคร่ำดำริตริตรอง                               ไฉนหนอนวลละอองจะเอ็นดู
    ทำเสน่ห์เล่ห์กลก็หลายสิ่ง                                 นางยิ่งด่าว่าน่าอดสู
    สิ้นตำรับตำราวิชาครู                                         เพราะกายกูแก่เกินขนาดไป
    จำจะหามุนีฤาษีสิทธิ์                                         ที่เรืองฤทธิ์ชุบรูปเราเสียใหม่
    ให้หนุ่มน้อยโสภายาใจ                                     เห็นจะได้เยชมสมคิด”
    แปล   ด้วยความรักใคร่ไหลหลงนางจันท์สุดา พระองค์พยายามทำทุกสิ่งอย่างเพื่อให้นางจันท์สุดาพอใจในตัวพระองค์ แต่ทำไมนางจันท์สุดาถึงไม่สนใจพระองค์เลย ไม่ว่าจะเป็นทำเสน่ห์ก็ไม่ได้ผล จนไม่มีหนทางที่จะทำแล้ว พระองค์ครวญคิดว่าน่าจะเกิดจากความแก่ของตน จึงหาฤาษีที่มีวิชาแกร่งกล้ามาชุบตัวให้หนุ่ม เพื่อให้นางจันท์สุดาหลงพระองค์
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชชุบตัว
                    ต่อจากนั้นพระหลวิชัยก็เสด็จออกจากวังมาตามทาง เดชะความสัตย์ซื่อถือมั่น  เทวัญพิทักษ์รักษา  บันดาลดลใจให้ไคลคลา ย่อย่นมรคาพนาลี ทางไกลเดือนหนึ่งมาครึ่งวัน ถึงจันทบุราบุรีศรี ไม่พบคนไปมาทั้งธานี ภูมีลดเลี้ยวเที่ยวดู แลเห็นพระขรรค์ทันใด หยิบได้เขม้นอยู่ป็นครุ่ แม่นมั่นพระขรรค์ของน้องกู เหตุใดมาอยู่กลางอัคคี ชะรอยน้องรักเจ้าตักษัย ทำไฉนจะพบซากผี ยิ่งวิโยคโศกศัลย์พันทวี ภูมีลดเลี้ยวเที่ยวมา”
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องภาษาแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
    “สาวเอยสาวสวรรค์                            น้อยหรือนั่นน่าชมนางผมหอม
    งามสิ้นทุกสิ่งพริ้งพร้อม                      ดูแลม่อมหมดอย่างเหมือนนางฟ้า
    นี่กุศลหนหลังเราทั้งสอง                     เคยเป็นคู่ครองเสน่หา
    เก็บดอกไม้ไหว้พระด้วยกันมา           วาสนาทำไว้จึงได้น้อง
    แต่วันพบผอมผมเจ้าลอยน้ำ                พี่ครวญคร่ำโศกาหาเจ้าของ
    ให้เสนาข้าเฝ้าเที่ยวป่าวร้อง                ได้ข่าวน้องเพราะยายค่อยคลายใจ
    ที่นี้เสร็จสมอารมณ์นึก                        ดังเอาน้ำอำมฤคมารดให้
    ถึงจะได้นางฟ้าสุราลัย                        ไม่ดีใจเหมือนเจ้าเยาวมาลย์
    เชิญผินพักตรามาพาที                         เสียแรงพี่ว่าวอนด้วยอ่อนหวาน
    จะครวญคร่ำร่ำร้องไม่ต้องการ           จงพูดจ่าขานกันโดยดี”
    แปล  ท้าวสันนุราชได้กล่าวว่านางจันท์สุดาเป็นคนที่สวยเหมือนนางฟ้า เป็นบุญบารมีที่เขาทั้งสองได้ทำร่วมกันมา ทำให้ชาตินี้ได้เกิดมาคู่กันอีก และเมื่อวันที่พบผอบลอยน้ำ พระองค์จึงให้ไปสืบหาว่านางผู้นั้นคือใคร และพระองค์ก็ได้ตัวนางจันท์สุดามาจนได้ แต่แล้วพระองค์ก็ได้ไม่ได้ดั่งใจหวังเพราะถึงจะพูดจาอ่อนอ่อนหวานเพียงใด นางจันท์สุดาก็ไม่สนใจ
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
    “เป็นทิศาปาโมกข์พวกโหยกเหยก                    ตัวเอกออกชื่อลือทุกแห่ง
    อวดกำลังหนังเหนียวเรี่ยวแรง                          ฟันแทงไม่เข้าเปล่าทั้งนั้น
    ทำเสน่ห์เล่ห์กลให้คนเชื่อ                                 ฉลาดเหลือหลอกหลอนผ่อนผัน
    เมียขุนนางวางน้ำไปกำนัล                                ขอเลขยันต์หยูกยาดม
    พวกหนุ่มหนุ่มปรารถนาจะหาเมีย                    มาเรียนรู้สู้เสียผ้านุ่งห่ม
    เฒ่าชราหากินด้วยลิ้นลม                                   ใครชิดชมฉิบหายเสียหลายคน
    แปล  หมอเฒ่าเป็นคนที่มีชื่อเสียงที่คนเขาล้ำลือกันว่า หนังเหนียว ฟันแทงไม่เข้า ไม่ว่าจะเป็นทำเสน่ห์ก็ได้ผล ชายที่ต้องการจะมีเมียก็พากันมาขอคาถา
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมแฝงอยู่ดังนี้
    ทำเสน่ห์เล่ห์กลให้คนเชื่อ                 เป็นวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อ
    ฟันแทงไม่เข้าเปล่าทั้งวัน                  เป็นวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อ
    เมียขุนนางวางน้ำไปกำนัล                เป็นวัฒนธรรมในเรื่องการปกครอง
    ขอเลขยันต์หยูกยาดม                        เป็นวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อ

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
                    “หน้าพระทนต์บนล่างห่างหัก  ดวงพระพักตร์เหี่ยวเห็นเส้นสาย  เกศาพึ่งจะประปราย  รูปกายชายระพีมีเนื้อ  พระเสวยมื้อละชามสามเวลา  ทรงกำลังวังชาประหลาดเหลือ  พอใจเกี้ยวผู้หญิงริงเรือ  ผูกพันฟั่นเฝือไม่เบื่อกาย
    แปล กล่าวถึงท้าวสันนุราชว่า ฟันบนล่างห่างหัก หน้าเหี่ยวเห็นเส้นสายผมก็ร่วงโรย รูปร่างก็ค่อนข้างอ้วน เป็นคนที่กินเยอะ แต่แข็งแรง เป็นคนที่เจ้าชู้
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องการครองคู่แฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
                    “ถ้ายายเฒ่าทำให้เราได้สมหวัง  ยายปรารถนาทรัพย์สินเงินทองสักเท่าไหร่  เราก็จะปรานให้  ขอให้ยายจงเร่งไปพานางในกลองกลับมาให้  และยายต้องการจะเอาสิ่งใดไปบ้าง  จงบอกมา  เพราะการเดินทางไปคงจะลำบากพอสมควร
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องทรัพย์สินเงินทองแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
                    ยายเฒ่าทัศประสาทกราบทูลด้วยความดีใจว่า  “หม่อมฉันขอเรือเอกชัย  ไปรับนางในครั้งนี้เพค่ะ
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องยานพาหนะแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
                    “ส่วนยายเฒ่าทัศประสาทมีความกระหยิ่มยิ้มย่องเป็นยิ่งนักที่จะได้โอกาสฆ่าพระคาวี  สมดังที่ตนคิดไว้  โดยทำเป็นเข้าไปใช้สอย  หมอบคอยถือชุดจุดบุหรี่ จากนั้นก็พูดจาอ้างเรื่องว่าตามโบราณราชประเพณี  กษัตริย์เมื่อได้ขึ้นปกครองบ้านเมืองจะต้องทำพิธีสรงน้ำมุรธาภิเษก  คือนำน้ำมารดพระเศียรในงานราชาภิเษก บ้านเมืองจึงจะเจริญรุ่งเรือง ฉะนั้นจึงขอเชิญพระองค์ได้เสด็จไปทรงน้ำ ตามอย่างกษัตริย์ที่มีมาแต่โบราณเถิด
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องประเพณีและความเชื่อแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
                    “พวกเสนาเมื่อมาถึงบ้านหมอเฒ่าก็หยุดรออยู่  ได้ยินเสียงผู้คนมากมาย  บ้างเล่นหมากรุก  บ้างเล่นสกา  คุยกันอย่างโขมงโฉงเฉง  จึงลอบเข้าไปแอบดูที่ช่องฝา  เห็นหนุ่มๆนั่งล้อมตาหมอเฒ่ากันอยู่อย่างพร้อมหน้า  เพื่อมาขอคาถา  เสนาค่อยๆเคาะที่ประตู  พลางร้องถามหาตาหมอเฒ่าว่าอยู่หรือไม่
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องการละเล่นและความเชื่อแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน ท้าวสันนุราชหานางผมหอม
                    “ตาหมอเฒ่าจึงรีบมาอาบน้ำแต่งตัว  เสร็จแล้วไปไขตู้ดูตำราของอาจารย์ที่มีเลขยันต์เสน่ห์กลถือติดมือไปด้วยสองฉบับ  ปากก็สาธยายมนต์พึมพำไป
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า
    “คิดแล้วสรงน้ำชำระกาย                   ขมิ้นผงละลายเป็นค่อนขัน
    ลูบไล้ขัดสีฉวีวรรณ                           ทรงกระแจะจวงจันทร์กลิ่นเกลา
    น้ำดอกไม้เทศทากว่าจะทั่ว                ชโลมทั้งเนื้อตัวเหมือนปล่อยเต่า
    กระจกตั้งนั่งส่องมองดูเงา                 จับเขม่ากันไรไปล่ปลิว
    หวีกระจายรายเส้นขนเม่นสอย          ผัดหน้านั่งตะบอยบีบสิว
    เสกขี้ผึ้งสีปากพลางทางวาดคิ้ว          นุ่งฝ้ายกริ้วมีราคา
    เอาสไบปักทองเข้าลองห่ม                นึกชมสมตัวเป็นหนักหนา
    จะแต่งไปอวดมันจันทร์สุดา             น้ำหน้าอีจันไรไหนจะมี
    คาดเข็มขัดประจำยามงามล้ำ             ทองคำน้ำหนักสักสิบสี่
    กำไลลงยาราชาวดี                             มั่งมีได้มาแต่ตายาย
    ใส่แหวนเพชรเม็ดแดงหัวแมงปอ      เขามาต่อห้าชั่งยังไม่ขาย
    พิศดูตัวพลางทางยิ้มพราย                 กรุยกรายออกจากตำหนักนาง
    เรียกหาขาไทอยู่อึงมี่                         ใส่เกือกกำมะหยี่หักทองขวาง
    ถือพระกลดคันสั้นกั้นกาง เยื้องย่างมาปราสาทพระทรงธรรม์”
    แปล  นางคันธมาลีขัดสีฉวีวรรณ แต่งหน้าแต่งตา แต่งตัวสวยงามเพื่อที่จะไปอวดนางจันท์สุดาว่านางสวยและมียศบารมีมากเพียงใด
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมแฝงอยู่ดังนี้
    ขมิ้นผงละลายเป็นค่อนขัน                เป็นวัฒนธรรมในเรื่องยาสมุนไพร
    นุ่งฝ้ายกริ้วมีราคา                              เป็นวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งกาย
    เอาสไบปักทองเข้าลองห่ม                เป็นวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งกาย
    คาดเข็มขัดประจำยามงามล้ำ             เป็นวัฒนธรรมในเรื่องการแต่งกาย

    จากตอน คาวีปกครองเมืองจันท์นครและได้นางจันท์สุดาเป็นพระชายา
                    “เหตุใดหนอกลองใหญ่ใบนี้จึงตีไม่มีเสียงกังวาน หรือมีสิ่งใดซ่อนอยู่ภายใน อย่ากระนั้นเลยจำเราจะใช้พระขรรค์ของเราแหวะหน้ากลองออกดูจะดีกว่า
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องดนตรีแฝงอยู่ด้วย
                   
    จากตอน คาวีปกครองเมืองจันท์นครและได้นางจันท์สุดาเป็นพระชายา
                    “ขณะนั้นพอดีเป็นวันสงกรานต์  คาวีก็ชวนนางจันท์สุดาลงสระน้ำชำระกายในลำแม่น้ำตามประเพณี  เมื่อทรงน้ำสระผมเสร็จแล้ว  นางจันทร์สุดาได้เก็บผมหอมที่ร่วงใส่ผอบปล่อยลอยน้ำไป  เสมือนลอยกระทง  จากนั้นทั้งคาวีกับนางจันทร์สุดาก็ได้อยู่ครองกัน ณ เมืองจันท์นครสืบมา
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องขนมธรรมเนียมประเพณีแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า
    โบราณท่านว่าไว้เป็นครู                   ธรรมดาตีงูให้หลังหัก
    จะวางใจไม่ได้นะน้องรัก                   มันมักมาดหมายทำรายเรา
    จะมิให้เป็นสุขเฝ้าหยุกหยิก                จุกจิกเจ็บช้ำน้ำใจเจ้า
    ขึ้นชื่อว่าศัตรูอย่าดูเบา                        นิ่งเสียกระนี้เล่าจะเสียความ
    จงไปผันผ่อนให้อ่อนลง                     หนามยอกย่อมบ่งออกด้วยหนาม
    อย่าให้เกิดกลียุคลุกลา                        จะได้ความผาสุกสืบไป
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องสำนวนภาษาแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า
                    นางจันท์สุดาได้ฟังดังนั้น นางกลับถือไม้มาไล่ตี ทั้งด่าว่า “ทุดเฒ่าจัญไรมึงไม่ตรง ล่อลวงกูหลงงงงวย ฆ่าผัวกูตายไม่หายแค้น จะตบตีตอบแทนทำมึงด้วย อย่าพักสงสัยจะไม้ม้วย ใครเขาจะช่วยชีวิตมึง พวกอีไม่ตรงหลงผัว หลับตาเล่นตัวละเมอหึง เต้นแร้งเต้นกาด่าอึง โกรธขึ้งหึงกูไม่ดูเงา มึงอย่าทำสำออยลอยหน้า ทีนี้น้ำตาเช็ดหัวเข่า
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องภาษาแฝงอยู่ด้วย

    จากตอน นางคันธมาลีขึ้นเฝ้า
    พระฤาษีได้ฟังนางคันธมาลีต่อว่าดังนั้น จึงตอบโต้ไปว่า
    “น่าเอยน่าบัดสี                                 ช่วยห้ามให้ดีไม่เห็นบ้าง
    กลับมาขวิดชนเอาคนกลาง               ถากถางถุ้งเถียงขึ้นเสียงเกน
    บาปบุญคุณโทษก็ไม่รู้                       ทะเลาะกูกำหมัดขัดเขมร
    มึงจะลงนรกหกคะเมน                      ตกต่ำใต้เถนเทวทัต
    กูเป็นฤาษีชีไพร                                 อยู่ในเมตตาสมาบัติ
    พากเพียรบำเพ็ญเคร่งครัด                 ไม่อาสัจอาธรรม์ฉันทา
    จะมาหยิบยกโทษโกรธขึ้ง                 เป็นเหตุเพราะผัวมึงสิไม่ว่า
    ใช้คนไปนิมนต์กูเข้ามา                      ปรารถนาจะใคร่ให้ชุบตัว
    แต่แรกคิดจะชุบให้มึงมั่ง                   เดี๋ยวนี้ชังน้ำหนักกะลาหัว
    หฤโหดโฉดเขลาเมามัว                     ไม่เจียมตัวว่าแก่กอแกไป
    เอาแต่โมโหออกโต้ความ                   มันหงอกงามอยู่แล้วใครทำให้
    ชุบเองเถิดเจ้าด้วยเม่าไฟ                     คัดปีกคัดไรให้ไปล่ปลิว
    จากบทประพันธ์ข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นจะมีวัฒนธรรมแฝงอยู่ดังนี้
    บาปบุญคุณโทษก็ไม่รู้                        เป็นวัฒนธรรมในเรื่องความเชื่อ
    ทะเลาะกูกำหมัดขัดเขมร                    เป็นวัฒนธรรมในเรื่องภาษา
    มึงจะลงนรกหกคะเมน                       เป็นวัฒนธรรมในเรื่องภาษา
    กูเป็นฤาษีชีไพร                                  เป็นวัฒนธรรมในเรื่องภาษา
    เป็นเหตุเพราะผัวมึงสิไม่ว่า                 เป็นวัฒนธรรมในเรื่องภาษา
    ใช้คนไปนิมนต์กูเข้ามา                       เป็นวัฒนธรรมในเรื่องภาษา

    จากตอนพระคาวีรบกับไวยทัต
                    “อีเฒ่านี้กิริยาเหมือนบ้าหลัง  หน้าเคอะเซอะซังมาแต่ไหน  มีธุระปะปังเป็นอย่าไร  จะทำไมมึงมาหากู
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องภาษาแฝงอยู่ด้วย

    จากตอนพระคาวีรบกับไวยทัต
                    ไวยทัตเห็นไพร่พลมามากมายดังนี้  จึงแจกจ่ายเครื่องศาสตราอาวุธ ทวนง้าวหลาวแหลนพร้อมพรั่ง  อีกทั้งหอกดาบปืนผา” แล้วให้เลี้ยงเหล่าไพร่พลทั้งหมด  เพื่อจะได้กล้าออกศึก
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องการรบแฝงอยู่ด้วย

    จากตอนพระคาวีรบกับไวยทัย
                 “พระคาวีได้ยินดังนั้นก็หัวเราะ ตอบไปว่า  “เอ็งอย่าอวดรู้ประมาทลูกผู้ชายด้วยกัน ถึงจะเป็นชาวป่าชาวดง แต่ก็ลวงเผาชาวเมืองเล่นง่ายๆ อ้ายเฒ่าลุงของเอ็งนั้นโง่งมจึงต้องตาย  แต่บัดนี้หลานชายอยากจะตายตาม  อย่าโอหังอวดตัวไปนักเลย ไม่มีใครเขากลัวเอ็งดอก
    จากบทความข้างต้นจะเห็นได้ว่าในยุคสมัยนั้นมีวัฒนธรรมในเรื่องภาษาแฝงอยู่ด้วย



    ที่มาวิเชียร เกษประทุม. (2547).  เล่าเรื่องคาวี.  กรุงเทพฯ : พัฒนาศึกษา.    
  • บทที่๖ ตัวละคร

    0
    บทที่๖ ตัวละคร                       
     หลวิชัย
        
              เจ้าเขี้ยวขาวในร่างคน มีพระขรรค์เป็นอาวุธ
            มีสัญชาติญาณเสือแฝงอยู่ หลวิชัยต้องพยายามควบคุม
            สัญชาติญาณ และห้ามฆ่าผู้อื่น เพราะจะทำให้มนต์
            ฤาษีเสื่อมกลับกลายเป็นเสืออีก   


       คาวี
             เจ้าโทนในร่างคน ด้วยความที่เกิดมาจากวัว
              จึงมีนิสัยอ่อนโยน ใจดี ไม่กล้าทำร้ายใคร
              คาวีพยายามฝึกการต่อสู้ และความกล้าหาญ
              เพื่อสามารถมีชีวิตอยู่รอดได้


    เจ้าหญิงจันทวรา
            เรียบร้อย อ่อนโยน มองโลกในแง่ดี


        เจ้าหญิงจินดารัตน์
           พระธิดาองค์เดียวของเจ้าเมือง แก่นแก้ว
             เก่งกล้าแบบผู้ชาย รักการต่อสู้ไม่ยอมใคร


      แม่เฒ่ามณีจันทน์
            แม่มดร้ายที่หวังฝึกเวทย์มนต์เพื่อยึดครองโลก


         เวตาล         

                สมุนเอก เป็นอมนุษย์ หน้าตาน่าเกลียดน่ากลัว
                เจ้าเล่ห์แสนกล


       ท้าวมัทราช
            กษัตริย์แห่งรมยนคร รักสันติ  เกลียดการทำสงคราม


     พระนางแก้วเกสร
             มเหสีท้าวมัทราช เอาจริง ไม่ยอมคน


     ท้าวยศภูมิ
                 กษัตริย์เฒ่าเจ้าชู้เจ้าเมืองพัทธพิสัย ร่างเล็กเตี้ย
            หัวล้าน ใจคอโหดเหี้ยม คิดถึงแต่ประโยชน์ส่วนตัว


     แม่เสือ
               แม่เสือใจดีที่ทำตามกฎของเสือ
            คือการล่าสัตว์ที่อ่อนแอกว่ามาเป็นอาหาร



    ที่มา: https://sites.google.com/site/thai044ssru/wicha-hlak-phasa/bth-thi-4-laksna-kha-praphanth
  • Copyright © - หลวิชัย คาวี

    หลวิชัย คาวี - Powered by Blogger - Designed by Johanes Djogan